หัวข้อ   “ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้า
ประชาชนเชื่อมั่นต่อความสามารถในการบริหารประเทศของ คสช.
เชื่ออีก 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทยจะดีขึ้น
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชน
เรื่อง “ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทยในปัจจุบัน และอนาคตอีก 6 เดือน
ข้างหน้า”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วทุกภาคของประเทศจำนวน 1,093 คน เมื่อ
วันที่ 7 – 13 มิถุนายน ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
                 ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ยรวมทุกด้าน
4.87 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) โดยปรับสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
การสำรวจในปี 2554
ซึ่งมีคะแนนเท่ากับ 3.47 คะแนน (เพิ่มขึ้น 1.4 คะแนน) และมีคะแนน
เพิ่มขึ้นในทุกด้าน
 
                 เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้านพบว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่น
ด้านการเมืองมากที่สุด (5.02 คะแนน) รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ (4.98 คะแนน)
ส่วนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประชาชนมีความเชื่อมั่นน้อยที่สุด (4.62คะแนน)
 
                  ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละตัวชี้วัดจากจำนวนทั้งสิ้น 12
ตัวชี้วัด พบว่า ความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นมีคะแนนต่ำที่สุด
(3.87คะแนน) เช่นเดียวกับผลการสำรวจเมื่อปี 2554 ขณะที่ความเชื่อมั่นต่อความ
สามารถในการบริหารประเทศ ณ ปัจจุบัน ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ได้คะแนนมากที่สุด (5.96 คะแนน) ซึ่งเป็นระดับความเชื่อมั่นที่สูงเกินครึ่งและสูงกว่า
ความเชื่อมั่นในปี 2554
อีกทั้งยังเป็นด้านที่ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นมากที่สุดในการสำรวจครั้งนี้
 
                  เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนร้อยละ
66.8 เชื่อว่าจะดีขึ้น
รองลงมาร้อยละ 25.1 เชื่อว่าจะเหมือนเดิม และมีเพียงร้อยละ 8.4 ที่เชื่อว่าจะแย่ลง
 
                  สุดท้ายเมื่อถามถึงความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.2 มีความภูมิใจ
มากที่สุด
รองลงมาร้อยละ 27.3 มีความภูมิใจมาก ร้อยละ 4.0 มีความภูมิใจน้อย และร้อยละ 1.5 มีความภูมิใจน้อยที่สุด
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อ ศักยภาพโดยรวมของประเทศไทย ในปัจจุบัน

ความเชื่อมั่นในด้านต่างๆ
คะแนนความเชื่อมั่น (เต็ม 10 คะแนน)
ก.พ. 54
มิ.ย. 57
เปลี่ยนแปลง
1) ด้านสถานะทางเศรษฐกิจของคนในประเทศ
    (รายได้เพียงพอกับรายจ่าย การมีงานทำ การกินดีอยู่)
3.44
4.80
+1.36
2) ด้านฐานะการเงินของประเทศ
    (เงินคงคลัง หนี้ของประเทศ ทุนสำรองระหว่างประเทศ)
3.48
4.55
+1.07
3) ด้านศักยภาพของคนไทย
    (การศึกษา/สุขภาพ/ความรู้ความสามารถ/ความซื่อสัตย์มีวินัย
     และพัฒนาได้)
4.43
5.01
+0.58
4) ด้านความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคอาเซียน
    (ด้านการผลิต เป็นแหล่งท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน)
4.69
5.56
+0.87
ความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ (เฉลี่ยรวม)
4.01
4.98
+0.97
5) ด้านความรักและสามัคคีของคนในชาติ
2.88
4.19
+1.31
6) ด้านกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมาย
    (ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย และความเท่าเทียมกัน
     ในการบังคับใช้กฎหมาย)
3.05
4.55
+1.5
7) ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.63
5.10
+0.47
8) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
    (โจรกรรม ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกายภัยจราจร
      การปนเปื้อนในอาหาร และมลพิษ)
3.30
4.66
+1.36
ความเชื่อมั่นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม (เฉลี่ยรวม)
3.47
4.62
+1.15
9) ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น
1.91
3.87
+1.96
10) ด้านการปฎิรูปการเมืองและพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
      (คุณภาพนักการเมือง ระบบเลือกตั้ง และการมี
       ส่วนร่วมของประชาชน)
2.80
4.79
+1.99
11) ด้านความสามารถในการบริหารประเทศ ของรัฐบาลชุด
      ปัจจุบัน/คสช.
3.43
5.96
+2.53
12) ด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากหน่วยงาน
      ภาครัฐ (ถูกต้อง เป็นกลาง และเป็นประโยชน์)
3.62
5.48
+1.86
ความเชื่อมั่นด้านการเมือง (เฉลี่ยรวม)
2.94
5.02
+2.08
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
3.47
4.87
+1.4
 
 
             2. ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อศักยภาพประเทศไทย ในอีก 6 เดือนข้างหน้า

ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพประเทศไทย
ในอีก 6 เดือนข้างหน้า
เชื่อว่า
จะดีขึ้น
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะเหมือนเดิม
(ร้อยละ)
เชื่อว่า
จะแย่ลง
(ร้อยละ)
1. ด้านเศรษฐกิจ
72.3
19.8
7.9
2. ด้านการเมือง
66.5
25.1
8.4
3. ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม
61.6
24.5
13.9
เฉลี่ยรวมทุกด้าน
66.8
23.1
10.1
 
 
             3. ความภูมิใจในความเป็นคนไทย

 
ร้อยละ
มีความภูมิใจมากที่สุด
67.2
มีความภูมิใจมาก
27.3
มีความภูมิใจน้อย
4.0
มีความภูมิใจน้อยที่สุด
1.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                 1. เพื่อต้องการทราบถึงความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อศักยภาพของประเทศไทยในปัจจุบัน
                     และในอีก 6 เดือนข้างหน้า
                 2. เพื่อต้องการทราบถึงความภูมิใจในการเป็นคนไทยของประชาชน
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทั่วไปทุกสาขาอาชีพที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,093 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.5 และเพศหญิงร้อยละ 49.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 7 – 13 มิถุนายน 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 15 มิถุนายน 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
552
50.5
             หญิง
541
49.5
รวม
1,093
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
117
10.7
             26 – 35 ปี
248
22.7
             36 – 45 ปี
256
23.4
             46 ปีขึ้นไป
472
43.2
รวม
1,093
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
780
71.3
             ปริญญาตรี
261
23.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
52
4.8
รวม
1,093
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
137
12.5
             พนักงานบริษัทเอกชน
194
17.7
             ค้าขาย
215
19.7
             เจ้าของกิจการ
38
3.5
             รับจ้างทั่วไป
201
18.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
109
10.0
             นิสิตนักศึกษา
36
3.3
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เกษตรกร เป็นต้น
163
14.9
รวม
1,093
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776